วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

หน้าแรก


หน้าแรก








ประมาณวันที่ 1-9 กุมภาพันธ์ ของทุกปี จัดขึ้น ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดเลย ช่วงเทศกาลตรุษจีน ประมาณวันที่ 1-9 กุมภาพันธ์ ของทุกปี วันแรกของงานจะมีขบวนแห่จากอำเภอต่างๆ ที่ประดับตกแต่งรถด้วยผลิตภัณฑ์จากฝ้าย ซึ่งรถแต่ละคันจะมีเทพีนั่งประดับมาด้วย ส่วนบริเวณจัดงานจะมีการออกร้านของหน่วยงานราชการต่างๆ การประกวดนางสาวไทเลยและมหรสพอื่นๆ อีกมากมาย

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา


จังงหวัดเลยนั้นเป็นจังหวัดที่มีแนวเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
โดยมี "น้ำเหือง" และ "แม่น้ำโขง" เป็นเขตแนวธรรมชาติกั้นพรมแดน
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนและมีที่ราบสูง เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ รัชกาลที่ ๔
โปรดเกล้าให้ "พระยาท้ายน้ำ" ได้ออกสำรวจเขตแขวงต่างๆ เพื่อตั้งให้เป็นเมือง
ได้พบชุมชนหนาแน่นที่ "หมู่บ้านแฮ่" ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำหมาน และอยู่ใกล้กับน้ำเลย
มีภูมิประเทศเหมาะสม พลเมืองหนาแน่น พอที่จะตั้งเป็นเมืองได้ รัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าฯ
ให้จัดตั้งเป็นเมือง โดยตั้งชื่อตามลำน้ำว่า "เมืองเลย"  ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการ
จัดการปกครองแบบใหม่ เรียกว่า "การปกครองแบบเทศาภิบาล" แบ่งเป็นมณฑล
เมือง ตำบล หมู่บ้าน  เมืองเลยจึงเป็นเมืองหนึ่งซึ่งอยู่ในเขตปกครองของมณฑล
ลาวพวน ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "มณฑลอุดร" ครั้งแรกมี ๓ อำเภอ คือ อำเภอ
ท่าลี่ อำเภอนากอก และอำเภอกุดป่อง ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมือง (อำเภอเมืองเลยในปัจจุบัน)
ปี พ.ศ. ๒๔๔๒- ๒๔๔๙ ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยใหม่เป็น "บริเวณลำน้ำเลย"
และในปี ๒๔๔๙- ๒๔๕๐ ได้เปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้งเป็น "บริเวณลำน้ำเหือง"
ต่อมาวันที่ ๔ มกราคม ๒๔๕๐ ให้ยกเลิกชื่อ "บริเวณลำน้ำเหือง" ให้คงชื่อไว้เฉพาะคำว่า "เมืองเลย" ขณะเดียวกันก็ให้เปลี่ยนชื่อ "อำเภอกุดป่อง" เป็น "อำเภอเมืองเลย" ปัจจุบันจึงถือว่า วันที่ ๔ มกราคม ๒๔๕๐ เป็นวันสถาปนา
จังหวัดเลยในช่วงฤดูหนาวของจังหวัดเลยนั้น ในอดีตอากาศจะหนาวจัดและ
ต่อเนื่องยาวนานหลายเดือน คือประมาณเดือนตุลาคมถึงมีนาคม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
เคยอากาศหนาวที่สุดในประเทศมาแล้ว จังหวัดเลยจึงมีคำขวัญประจำจังหวัดว่า
"เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม” เมื่ออากาศหนาวเหน็บเช่นนี้ ผู้คนจึงทำ
ผ้าห่มสำหรับห่มกันหนาวกัน ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้หลักๆ ก็คือฝ้ายครับ โดยจะใช้ยัดเป็น
ไส้ในผ้าห่ม ส่วนผืนผ้านั้นก็จะทอขึ้นจากฝ้ายครับ ผ้าห่มชนิดนี้ชาวเลยจะทำกัน
ทั่วไป ปัจจุบันนี้ก็ยังพอหาซื้อได้อยู่ที่อำเภอเชียงคานครับ ฝ้ายนี้ชาวบ้านก็จะปลูก
เองครับ และนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย จนถึงขนาดมีโรงหีบฝ้ายตั้งขึ้นหลาย
แห่งเพื่อรับซื้อฝ้ายเพื่อนำไปขายต่ออย่างเป็นล่ำเป็นสันทีเดียว และเนื่องจาก
จังหวัดเลย เป็นจังหวัดเดียวของประเทศที่ปลูกฝ้ายมากเป็นอันดับ ๑ ในสมัยนั้น
 นายประพันธ์ พลอยพุ่ม ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเลยจึงได้ร่วมกับประชาชน
ชาวเลยจัดงาน "ดอกฝ้ายบานที่เมืองเลย" ขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของ
จังหวัดเลยในด้านการปลูกฝ้าย และเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
ที่มีอยู่มากมาย เช่น ภูกระดึง ภูเรือ ภูหลวง ควบคู่กับการส่งเสริมเผยแพร่ศิลป
วัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในชนบทที่ประกอบอาชีพเกษตรกร
ได้ท่องเที่ยวพักผ่อน รื่นเริงสนุกสนาน โดยในช่วงฤดูหนาวถือว่าเป็นช่วง
ระยะเวลาที่เหมาะสมกับการจัดงานมากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น
และฝ้ายกำลังออกดอกขาวบานสะพรั่งไปทั่วจังหวัด โดยเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๒๓ ในสมัยนายวิชิต ลักษณสมพงษ์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ใช้ชื่องานว่า
 "ดอกฝ้ายบานที่เมืองเลย และงานกาชาดจังหวัดเลย"
งานมีขึ้นระหว่างวันที่ ๓๐ มกราคม ถึง ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓ ครั้งนั้นจัดขึ้นที่ด้านหลัง
ที่ว่าการอำเภอเมืองเลยเก่า ติดกับศาลาเทศบาลเมืองเลยใน "สวนสาธารณะกุดป่อง"
ที่ล้อมรอบด้วยน้ำกุดป่อง งานครั้งนั้นเพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การปลูกฝ้ายในฐานะ
เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดเลย เพราะทำรายได้ให้จังหวัดเลยเป็นอันดับหนึ่ง
ต่อมาสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไป มีผ้าห่มใยสังเคราะห์เกิดขึ้น ราคาถูกกว่าผ้าห่มฝ้าย
การผลิตก็รวดเร็วกว่า ผู้คนจึงหันไปนิยมผ้าห่มใยสังเคราะห์มาก
กว่าผ้าห่มฝ้าย ฝ้ายซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของจังหวัดเลย จึงขาดการเอาใจใส่ส่งเสริม เกษตรกรหันไปสนใจปลูกมะขามหวาน ข้าวโพด มะม่วงหิมพานต์
ยางพารา อ้อยและมันสำปะหลัง และมะขามหวานนี่เองที่ได้เข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจแทนฝ้าย
ในสมัยนายชีวิน สุทธิสุวรรณ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
ได้มอบหมายให้คณะกรรมการในครั้งนั้นผลักดันให้นำชื่อมะขามหวานเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง
ของชื่องาน จึงได้เปลี่ยนชื่องาน จากชื่อเดิมเป็น "งานกาชาดดอกฝ้ายบาน มะขาม
หวานเมืองเลย" ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ มาจนถึงปัจจุบันโดยจัดต่อมาเป็นประจำทุกปี
 ที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดเลย

ภาพขบวนแห่

ภาพขบวนแห่













กจิกรรมต่างๆภายในงาน


กจิกรรมต่างๆภายในงาน



จะมีการประกวดผลผลิตต่างๆ ทางการเกษตร การแสดงผลิตภัณฑ์ OTOP การประกวดการกรีดยาง ประกวดยางแผ่นดิบ ประกวดพืชผักผลไม้ในพื้นที่ ขบวนเกี่ยวกับการก้าวเข้าสู่สมาคมเศรษฐกิจอาเซียน นิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ การประกวดร้องเพลง การแข่งขันกีฬาชนิดต่างๆ การแสดงผลงานภาพถ่ายที่ชนะเลิศการประกวดภาพถ่าย “Unseen เมืองเลย” เป็นต้น
     
       นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมงานสามารถร่วมสร้างกุศลกับร้านมัจฉากาชาด และลุ้นรางวัลอีกมากมาย กิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ชมขบวนแห่เทิดพระเกียรติ, ขบวนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ขบวนวัฒนธรรมประเพณี, ขบวนสิ่งแวดล้อม และขบวนท่องเที่ยว